วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ เงิน วันที่ 4 สิงหาคม 2554 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ เงิน วันที่ 4 สิงหาคม 2554
โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

ฝ่ายวิจัย CGF คาดว่าราคาทองคำมีแนวรับที่1,657/1638 แนวต้านที่ 1,668 แนวโน้มราคาในระยะยาวยังเป็นช่วงขาขึ้น แต่แนวโน้มระยะสั้น RSI กับ Scholastic เข้าสภาวะ overbought คาดว่าราคาจะลดลงในอนาคต

อิตาลีกับโอกาสที่จะเป็นกรีซเบอร์ 2

ราคาทองคำในตลาดเอเชียเปิดตลาดตอนเช้าที่บริเวณ 1,663 USDต่อออนซ์ โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 1,659- 1,669 USDต่อออนซ์ ราคาเริ่มชะลอตัวในช่วงคืนวันที่ 3 ส.ค. ขณะที่ประเด็นที่น่าจะมีผลต่อราคาทอง ได้แก่ สถานการณ์การบริหารหนี้ของรัฐบาลอิตาลี หลังจาก นายกรัฐมนตรี ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ของอิตาลี กล่าวในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาว่า สหภาพยุโรป (อียู) อนุมัติร่างนโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลอิตาลีเสนอไปเมื่อเดือนที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับตลาดหุ้นได้ เนื่องจากทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาวะวิกฤตความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาหนี้ของยุโรป

ปัญหาวิกฤตยุโรปได้เริ่มแผ่ขยายไปยังอิตาลี ทำให้ตลาดหุ้นในยุโรปตอบรับข่าวอย่างรวดเร็วเมือวันพุธ 3 ส ค. ส่งผลดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในหลายๆ ประเทศในยุโรป ตกต่ำลงในวันที่ 3 สค. ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 5 ปีของอิตาลีเพิ่มขึ้นสู่ระดับเดียวกับของสเปน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอิตาลีกำลังจะก้าวเข้ามาแทนที่สเปนในฐานะประเทศที่สร้างความวิตกกังวลต่อนักลงทุนมากที่สุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นอิตาลีดิ่งลง 2.5 % ในวันพุธ ที่ 3 ส ค. แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 27 เดือน แม้ว่าตอนแรกมีการคาดหมายว่าปัญหายุโรปหยุดแค่สเปน และสเปนน่าจะเป็นประเทศสุดท้ายที่เผชิญปัญหาหนี้ แต่ล่าสุดดูเหมือนกับว่าประเทศอื่นๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว เช่น กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ก็ยังวนกลับมาเป็นปัญหาให้แก้อีกรอบ


จากข้อเท็จจริงที่ว่าอิตาลีมีหนี้ภาครัฐสูงถึง 120% ของGDP นับว่าเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงเป็นอันดับสองรองจากกรีซ ซึ่งการที่มีหนี้สูงขนาดนี้ หมายความว่า ถ้าเกิด อิตาลีมีปัญหาในการจ่ายหนี้คืนให้กับเจ้าหนี้หรือมีปัญหาสภาพคล่องผลกระทบที่ตามมาก็จะเป็นวงกว้าง เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรป และเป็นประเทศที่มีตลาดพันธบัตรใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

ขณะที่อิตาลีเองก็มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถแก้ ปัญหาด้านการคลังและเพิ่มวินัยทางการเงินให้ดีขึ้นได้ ส่งผลให้ นักลงทุนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในการบริหารการคลังของรัฐบาลอิตาลี ยิ่งมีกรณีที่รัฐมนตรีคลังกับนายกรัฐมนตรีของอิตาลีมีความขัดแย้งกันและ ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองในแนวร่วมรัฐบาลฝ่ายกลาง-ขวาของอิตาลีทำให้ความกังวลในตลาดเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ นอกจากนี้พฤติกรรมส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีเบอร์ลุสโคนีของอิตาลีทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในฐานะเป็นผู้นำประเทศและกำลังถูกเรียกร้องให้ลาออก โดยเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีหลีกเลี่ยงภาษีและคดีพรากผู้เยาว์ เมื่อรวมกับความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับเครดิตของประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป สถานการณ์ที่ล่อแหลมก็เลยกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของอิตาลีปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณ 4.6% มาเป็นประมาณ 6%

อย่างไรก็ตามในอีกด้านหนึ่งอิตาลีจะต่างจากประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้อื่นๆ กล่าวคือ เมื่อย้อนกลับไปดูในอดีตพบว่า ปัญหาหนี้ของอิตาลีเป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิมที่เคยสูงถึง 122% ของ GDP และ อิตาลีเองก็ไม่ได้มีการขาดดุลการคลังสูงมากนัก ประมาณ 4.5% ขณะที่การขาดดุลส่วนมากมาจากภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไป ถ้าหักดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายออกไป รัฐบาลก็อยู่ในระดับเกินดุลเล็กน้อย ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอิตาลีก็ไม่สูงมากนักแค่เพียง 3% เท่านั้น นอกจากนี้แบร์ลุสโคนี ยังออกมาแสดงความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจของอิตาลีโดยกล่าววว่า ตลาดยังไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของอิตาลีมีความแข็งแกร่ง แต่โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศอิตาลีนั้นแข็งแกร่ง เพราะธนาคารในอิตาลีได้ผ่านการทดสอบสภาวะวิกฤต (stress test) ของอียูเรียบร้อยแล้วและยังมีสภาพคล่องและมีความสามารถในการชำระหนี้ ขณะที่ความมั่งคั่งของชาวอิตาเลียนก็มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิขของสหรัฐที่เพิ่งประกาศออกมา ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานร่วงลง 0.8% ในเดือนมิ.ย.อันเป็นผลจากอุปสงค์ที่อ่อนแอสำหรับอุปกรณ์ด้านการขนส่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ค. สหรัฐเปิดเผยข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ค. เพิ่มขึ้น 950,000 บาร์เรลสู่ 355.0 ล้านบาร์เรล

การวิเคราะห์ทางเทคนิค
ฝ่ายวิจัย CGF คาดว่าราคาทองคำมีแนวรับที่1,657/1638 แนวต้านที่ 1,668 แนวโน้มราคาในระยะยาวยังเป็นช่วงขาขึ้น แต่แนวโน้มระยะสั้น RSI กับ Scholastic เข้าสภาวะ overbought คาดว่าราคาจะลดลงในอนาคต ราคาโลหะเงินมีแนวรับที่ 40.8 และแนวต้านที่ 42.5 แนวโน้มระยะสั้นราคาคาดว่าจะปรับตัวลดตัวลง

อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th/
http://www.classicgold.co.th/
http://www.chiabsengheng.co.th/
http://www.facebook.com/ClassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgg
http://classicgoldfutures.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น