วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 25 มกราคม 2556 ช่วงเย็น


บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 25 มกราคม 2556 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น) 

ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,665 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,665-1,672 USDต่อออนซ์ โดยร่วงลงทำจุดต่ำสุดในช่วงตลาดออสเตรเลียที่ 1,663 USD
ต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในระหว่างวัน มีลักษณะความพยายามทรงตัวเหนือ 1,665 USDต่อออนซ์ เพื่อรอจังหวะดีดกลับ อย่างไรก็ตาม ตลาดเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์
ปลอดภัยออกมาเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนกับสหรัฐต่างแสดงแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในปีนี้ อีกทั้งญี่ปุ่นยืนยันหนักแน่นต่อการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนเทขายทำกำไรทองคำที่ไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1,700 USDต่อออนซ์ แล้วเข้าเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง 
โดยค่าเงินสกุลยูโรยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่เงินบาทอ่อนค่าทดสอบบริเวณ 30 บาทต่อUSD แต่ยังอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าได้อีก โดยมีปัจจัยเงินทุนไหลเข้า
ตลาดเกิดใหม่ขานรับกับการประเมินว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศดังกล่าวจะเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ย   

รายงานการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค.55 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายเห็นพ้องในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ
ที่ 2% ทั้งนี้ สมาชิกได้แสดงความเห็นที่ตรงกันว่า เงินเฟ้อเป็นประเด็นที่ถูกจับตาดูอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะหารือกันเกี่ยวกับเสถียรภาพของราคา
ในระยะกลางและระยะยาว ซึ่ง BOJ ต้องการบรรลุเป้าหมายด้านนโยบายการเงินในการประชุมเดือน ม.ค.นี้

รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นไม่ให้ความสนใจกับกระแสคำวิจารณ์ที่มีมากขึ้นว่า ญี่ปุ่นกำลังพยายามปั่นค่าเงินของประเทศด้วยการบังคับให้ธนาคารกลาง(BOJ)
ใช้มาตรการผ่อนคลายขนานใหญ่ โดยระบุว่า จุดประสงค์ด้านนโยบายการเงินของ BOJ มีเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืดเท่านั้น

รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณหน้ามาอยู่ที่ 2.5% ในแง่ความเป็นจริง และ 2.7% ในแง่ตัวเลข 
โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจโลกก็เริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นด้วย

เงินทุนไหลเข้าประเทศจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ซื้อเงินสกุลต่างประเทศมากกว่าที่ขายให้กับลูกค้าในระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. ปีที่แล้ว 
โดยมียอดการซื้อสุทธิ 5.43 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงสุดในปีที่แล้ว และเป็นยอดซื้อสุทธิ 4 เดือนติดต่อกัน สำหรับตลอดทั้งปี 2555 การซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิอยู่ที่ 
1.106 แสนล้านหยวน ซึ่งในจำนวนนี้มี 8.69 หมื่นล้านหยวน หรือ 79% ที่ใช้จ่ายในระหว่างเดือนก.ย.-ธ.ค.

จีนเผยยอดเงินกู้ค้างชำระในภาคอสังหาริมทรัพย์ปี 2555 เพิ่มขึ้น 12.8% เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์แสดงสัญญาณการฟื้นตัว ทั้งนี้ สินเชื่อค้าง
ชำระสกุลเงินหยวนที่สถาบันทางการเงินจีนและต่างประเทศปล่อยกู้ให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 12.11 ล้านล้านหยวน (1.93 ล้านล้านดอลลาร์) 
เมื่อสิ้นปี 2555 ส่วนสินเชื่อค้างชำระสกุลเงินหยวนที่ปล่อยให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 3 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี 
สำหรับสินเชื่อจำนองส่วนบุคคลคงค้าง อยู่ที่ 8.1 ล้านล้านหยวน ณ สิ้นปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่สินเชื่อสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสวัสดิการสังคม 
อยู่ที่ 5.711 แสนล้านหยวน ซึ่งพุ่งขึ้น 46.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี 

เกาหลีเหนือขู่ว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ หากเกาหลีใต้คว่ำบาตรครั้งใหม่ ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยจะถือว่าเป็นการประกาศสงคราม 
หลังจากที่เกาหลีเหนือได้ยิงจรวดเมื่อเดือนที่แล้ว 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม  ได้แก่
22:00 ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ธ.ค.  –  แม้ว่าในช่วงเกือบ 2 ปีหลังมานี้ จะมีการกระเตื้องขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่การที่ยอดขายยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 
4 แสนหลัง/เดือน จึงแสดงให้เห็นว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐยังคงอยู่ในจุดที่ยังไม่มีการฟื้นตัวที่น่าพอใจตามความคาดหวังของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม 
การประกาศตัวเลขที่สูงกว่าครั้งก่อน จะกดดันราคาทองคำ และหากสูงกว่าระดับ 4.5 แสน ก็จะส่งผลลบอย่างมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากประกาศออกมาต่ำกว่าระดับ 3.5 แสน 
จะส่งผลบวกต่อราคาทองคำทันที

การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์หน้า(28 ม.ค.-1 ก.พ.)  :  วันจันทร์ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ธ.ค., 
ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย เดือน ธ.ค.  วันอังคาร  ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในเขต 20 เมืองใหญ่ เดือน พ.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค.  
วันพุธ ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ เดือนม.ค., GDP ไตรมาส 4/2012 (ประมาณการครั้งแรก), ยอดสต๊อคน้ำมัน รายสัปดาห์, คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน
(FOMC) ประกาศมติการประชุม และประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย  วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์, ต้นทุนการจ้างงาน ไตรมาส 4/2012, 
รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เดือน ธ.ค., ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ(ชิคาโก) เดือน ม.ค.  วันศุกร์ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน ม.ค., 
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค., ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อในภาคธุรกิจ เดือน ม.ค. โดย Markit, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ช่วงท้าย เดือน ม.ค. สำรวจโดย 
ม.มิชิแกน, ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ช่วงท้าย เดือน ม.ค. สำรวจโดย ม.มิชิแกน, ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อในภาคธุรกิจ เดือน ม.ค. โดย ISM, 
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง เดือน ธ.ค.

ประเด็นที่ต้องติดตาม  :  27 ม.ค. สิ้นสุดการประชุม World Economic Forum, 29-30 ม.ค. การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC)

  ทองคำ  สัญญาณ rsi ในกราฟราย 1 ชม. มีการดีดกลับขึ้นมาจากเขต oversold ที่เกิดขึ้นวานนี้ โดยราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวโน้มขาลงในระยะสั้นขึ้นมาได้ 
แต่ภาพรวมในวันนี้เป็นการแกว่งตัวแบบ sideway up ที่ยังต้องระวังการอ่อนตัวลงมาอีกครั้ง จึงควรจับตาดูที่การยืนเหนือระดับ 1,660 ให้ได้ 
ซึ่งจะสร้างโอกาสดีดกลับทางเทคนิคได้ในสัปดาห์หน้า โดยมีจุด Stop loss บริเวณ 1,694 โดยให้แนวรับ บริเวณ 1,660/1,650 และแนวต้านบริเวณ 
1,675/1,685 แนะนำให้ปิดสถานะ short เมื่อราคาอ่อนตัว และเริ่มสะสมสถานะ long อีกครั้ง

  โลหะเงิน  ให้แนวรับบริเวณ 31.5/ 31.3 ส่วนแนวต้านบริเวณ 31.8/31.9 แนะนำ Trading ในกรอบ

อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 11-12,16
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook.com/ClassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
https://itunes.apple.com/th/app/classic-gold/id464234361?mt=8
https://plus.google.com/114919553661509313835/posts
https://market.android.com/details?id=com.codemobiles.classicgold 
http://web.stagram.com/n/ilovecgf/
http://www.classicgoldgroup.tumblr.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น