บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 9 ตุลาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)
ความไม่ชัดเจนในยุโรป กดดันราคาทอง
ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,778 USDต่อออนซ์ ราคาเคลื่อนไหวระหว่าง 1,770 – 1,779 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำอ่อนตัวลงมาตั้งแต่เปิดตลาด เนื่องจาก นักลงทุนยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และปัญหาหนี้ในยุโรปที่ดูจะยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการให้ความช่วยเหลือ แม้ว่าเมื่อวานนี้ (8 ต.ค.) ยูโรโซนได้เปิดตัวกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือถาวรของภูมิภาค แต่การคาดการณ์ของ IMF ที่ว่าสเปน และกรีซ ยังยากที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณได้โดยเร็ว กดดันให้ตลาดยังไม่สามารถกลับมาคึกคัก อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลางจีนไดัอัดฉีดเม็ดเงิน 2.65 แสนล้านหยวน เข้าสู่ตลาดผ่านธุรกรรมการซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน ซึ่งเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินมากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติการณ์ ทำให้คาดว่าอาจจะมีการดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก และหนุนให้ตลาดหุ้น และตลาดทองคำ กลับมาสดใสอีกครั้ง สำหรับคืนนี้ จับตาดูแนวรับสำคัญที่ 1,770/1,765 ซึ่งหากไม่หลุด จะพบการ Rebound กลับขึ้นไปอีกครั้ง
ไอเอ็มเอฟ ปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขขาดดุลงบประมาณทั่วโลก โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 4.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2555 ซึ่งแย่กว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ 4.1% ส่วนในปี 2556 ยอดขาดดุลทั่วโลกจะอยู่ที่ 3.5% ของจีดีพี จากเดิมที่คาดไว้ 3.2% สำหรับยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐนั้น ไอเอ็มเอฟคาดว่าจะพุ่งขึ้นแตะ 8.7% ของจีดีพีในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.5% จากที่คาดไว้เดิม โดยจะลดลงสู่ระดับ 7.3% ในปี 2556 ขณะที่ ไอเอ็มเอฟคาดว่าตัวเลขขาดดุลงบประมาณของยูโรโซนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะขาดดุลที่ 10% ของจีดีพีในปีนี้ จากที่คาดไว้ 10.3% เมื่อเดือนเม.ย. และการคาดการณ์ยอดขาดดุลในปี 2556 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 9.1% ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานการประเมินด้านการคลังว่า ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีความคืบหน้าที่น่าพอใจในการลดยอดขาดดุลงบประมาณ แต่ความพยายามในการลดหนี้สาธารณะยังไม่ประสบผล
ไอเอ็มเอฟ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2555 ลงมาอยู่ที่ระดับ 3.3% และลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2556 ลงมาอยู่ที่ระดับ 3.6% ทั้งนี้ เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอ่อนแรงลง ซึ่งการขยายตัวที่ช้าลงของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สำหรับสถานการณ์ในยูโรโซนนั้น ไอเอ็มเอฟมองว่าหากมาตรการในระยะสั้นและระยะยาวนำมาใช้อย่างได้ผล ก็ถือเป็นเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่ายุโรปจะสามารถผ่านวิกฤตการณ์ที่ยุ่งยากไป ได้ในเร็วๆนี้ และมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นได้อีกครั้งในปี 2556
ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่าเศรษฐกิจของยูโรโซน ที่มีสมาชิก 17 ประเทศ จะหดตัวรุนแรงขึ้นในปีนี้ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าจะอ่อนแรงกล่าวที่คาดไว้ โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนจะหดตัวลง 0.4% ในปี 2555 จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 0.3% ส่วนในปี 2556 เศรษฐกิจจะมีการเติบโต 0.2% จากที่คาดไว้ว่าจะมีการฟื้นตัว 0.7% ในปีหน้า ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟเตือนว่าเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของยูโรโซนจะต้องสกัดวิกฤตการคลัง ของภูมิภาคและผลักดันการรวมกลุ่มทางการคลังและการธนาคารให้มีความคืบหน้า จึงจะสามารถทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนมีการฟื้นตัวในปีหน้า หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว แนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจจะย่ำแย่ลงอย่างมาก จากวิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรง และประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งก็อาจเผชิญกับภาวะหดตัว และประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอก็จะหดดตัวลงรุนแรงขึ้น
ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางฝรั่งเศสในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 9.77 หมื่นล้านยูโร ซึ่งปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ขาดดุล 1.028 แสนล้านยูโรในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น และการขายคลื่นความถี่ด้านการสื่อสาร ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ปัจจัยดังกล่าวได้ช่วยให้รายรับของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 3.2% แตะระดับ 1.77 แสนล้านยูโร เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่ปรับขึ้น 2.3% ที่ 2.48 แสนล้านยูโร
ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า กรีซจะไม่บรรลุเป้าหมายการลดหนี้ภายใน 5 ปี ซึ่งจะสนับสนุนมาตรการให้เงินช่วยเหลือกรีซ 1.30 แสนล้านยูโร ไอเอ็มเอฟระบุว่า หนี้ของกรีซจะลดลงสู่ระดับ 152.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2017 เทียบกับเป้าหมายที่ 137.3% กรีซได้ทำข้อตกลงเป้าหมายดังกล่าวกับไอเอ็มเอฟ และสหภาพยุโรปภายใต้สถานการณ์ความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับมาตรการช่วยเหลือ 1.30 แสนล้านยูโรของกรีซ ภายใต้โครงการช่วยเหลือ กรีซจะต้องเริ่มทำให้มียอดเกินดุลการคลังที่ราว 4.5% ของจีดีพีตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไปเพื่อลดหนี้ให้เหลือ 120% ของจีดีพีในปี 2020 อย่างไรก็ดี รายงานของไอเอ็มเอฟพบว่ากรีซจะมียอดเกินดุลที่สัดส่วนดังกล่าวได้ในปี 2016 ดังนั้น ประเทศในยุโรปควรพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซที่ถือครองไว้ ถ้าหากกรีซไม่สามารถแบกรับภาระทางการเงินต่อไป อย่างไรก็ดี อียูมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะให้เวลามากขึ้นแก่กรีซในการดำเนินการตามโครงการทางการคลังอีกครั้ง โดยนายยานนิส สตูร์นาราส รมว.คลังกล่าวว่า กลุ่มเจ้าหนี้ระหว่างประเทศกำลังพิจารณาการให้เวลากรีซอีก 2 ปี
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 19:55 ข้อมูลภาคค้าปลีก (Redbook)
- 21:00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สำรวจโดย IBD/TIPP
- 21:00 ดัชนีแนวโน้มการจ้างงาน
ทองคำ ภาพกราฟในราย 120 นาที ราคาลงไปชนแนวรับสำคัญที่ 1,770 แล้วรับอยู่ คาดว่าจะมีการดีดตัวกลับขึ้น แต่หากยังไม่สามารถผ่าน แนวต้านบริเวณ 1,775/1,785 อาจพบการอ่อนตัวอีกครั้ง ซึ่งการหลุดบริเวณ 1,770/1,765 อาจพบการอ่อนตัวลงไปถึงบริเวณ 1,755/1,750 ส่วนในวันนี้คาดว่ามีแนวรับบริเวณ 1,765/1,755 แนะนำ นักลงทุน Trading ในกรอบ 1,755 – 1,785
โลหะเงิน มีแนวต้านบริเวณ 34.4/35.0 คาดว่าแนวรับบริเวณ 33.7/33.3 แนะนำนักลงทุน Trading ในกรอบ 33.3 – 35.0
อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook....lassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
http://itunes.apple....d464234361?mt=8
https://plus.google....509313835/posts
https://market.andro...les.classicgold
http://web.stagram.com/n/ilovecgf/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น