วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 22 มีนาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 22 มีนาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

Sideway ออกด้านข้าง

ราคาทองคำเปิดตอนเช้าตามเวลาตลาดเอเซีย วันที่ 22 มี.ค. อยู่ที่บริเวณ 1,642 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,638 - 1,652 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำอ่อนตัวลงมาตั้งแต่เปิดตลาดเช้า เนื่องจากแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงในเดือนนี้ เมื่อภาคการผลิตหดตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และส่งผลให้นักลงทุนลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงทองคำ และหันไปถือเงินสดมากขึ้น ประกอบกับค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ส่งผลกดดันราคาทองคำ หลังจากผลกระทบของข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งจากภาพทางเทคนิค หากราคาทองคำหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,634 จะส่งสัญญาณ bearish มากขึ้น โดยมีเป้าหมายถัดไปที่บริเวณ 1,600 ขณะที่ หากยังรับอยู่ที่ 1,640 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่อยู่ในกรอบ 1,660/1,670 ซึ่งจะเคลื่อนไหวเป็นลักษณะ Sideway ออกด้านข้าง

เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนได้ส่งผลกระทบต่อสหรัฐทั้งในด้านการค้าและการเงิน ทั้งนี้สหภาพยุโรป (อียู) มีสัดส่วนในภาคการส่งออกสินค้าและการบริการราว 1 ใน 5 โดยยอดส่งออกสินค้าจากสหรัฐไปยังยุโรปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาย่ำแย่ลงมาก ซึ่งทำให้การส่งออกของเราไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลกนั้น อ่อนแอลงด้วย นอกจากนี้ การชะลอตัวลงของอุปสงค์จากยุโรปยังส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ อื่นๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า ซึ่งก็ทำให้อุปสงค์สินค้าของเราในต่างประเทศอ่อนแอลงด้วย นอกเหนือไปจากการค้าแล้ว ภาวะตึงตัวด้านการเงินในยุโรปยังส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินของสหรัฐ และแม้ว่าบริษัทการเงินและตลาดการเงินของสหรัฐมีเวลาในการปรับตัวเพื่อรับ มือกับการขาดทุนและสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในยุโรปได้ในระดับ หนึ่ง แต่ความเสี่ยงเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล ทั้งนี้ เบอร์นันเก้กล่าวว่า เฟดจะยังคงติดตามดูสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของยุโรปอย่างใกล้ชิด และเฟดพร้อมที่จะหนุนตลาดสหรัฐให้มีเสถียรภาพ หากจำเป็น

ภาคการผลิตของเยอรมนีหดตัวลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ในเดือนมี.ค. จากยอดสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการปรับตัวของเยอรมนีต่อวิกฤติยูโรโซน และบดบังความเห็นในแง่บวกต่อการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือกรีซ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ Markit ร่วงลงสู่ระดับ 48.1 ในเดือนมี.ค. จาก 50.2 ในเดือนก.พ. ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 51.0 และต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว ดัชนี PMI เดือนมี.ค. นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 47.9 ยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตลดลงในอัตราสูงสุดในปีนี้ โดยร่วงลงแตะ46.2 ในเดือนมี.ค. จาก 48.1 ในเดือนก.พ.

กิจกรรมทางธุรกิจในภาคเอกชนของฝรั่งเศสหดตัวลงในเดือนมี.ค.หลังจากที่ไม่ถูกกดดันจากภาวะถดถอยเป็นเวลา 2 เดือน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างชัดเจน และรายงานอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลงจะเป็นข่าวร้ายสำหรับรัฐบาล ในขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของMarkit/CDAF ร่วงลงสู่ระดับ 47.6 ในเดือนมี.ค. จาก 50.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว กลุ่มผู้ผลิตได้รายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงเป็นเดือนที่ 9ติดต่อกัน และลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ขณะที่ดัชนียอดสั่งซื้อใหม่ร่วงลงสู่ระดับ 45.2 ในเดือนมี.ค. จาก 48.2 ในเดือน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนร่วงลงสู่ระดับ 48.1 จุดในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบกับระดับ 49.6 จุดของเดือนก.พ. ซึ่งป็นสถิติที่หดตัวลงติดต่อกัน 5 เดือน นอกจากนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมี.ค.ยังเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุด บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตหดตัวลง และดัชนีที่เคลื่อนไหวเหนือระดับบ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2555 ลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% จากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ที่ 8% ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลจีนได้ปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจภาย ในประเทศ หลังจากที่ได้คงเป้าหมายเอาไว้ที่ 8% มาเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 19.30 น. กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- 21.00 น. คอนเฟอเรนซ์บอร์ดเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนก.พ.

ภาพกราฟในราย 120 นาที มีแนวรับที่ 1,640/1,634 ส่วนแนวต้านมีที่บริเวณ 1,660 และถัดไปบริเวณ 1,670/1,680 ภาพกราฟในรายวัน ราคาทองคำมีแนวโน้มอ่อนตัวลง จากเส้น Stochastic หักหัวลง และMACD ติดลบมากขึ้น หากปรับลดลงต่ำกว่า 1,634 จะส่งสัญญาณ bearish มากขึ้น และมีเป้าหมายการลงที่บริเวณ 1,600. แต่หากไม่หลุด 1,640 มีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบที่ 1,660/1,670 อีกครั้ง แนะนำ Trading ในกรอบ 1,610 – 1,670
ส่วนโลหะเงินมีแนวรับบริเวณ 31.8/ 31.6 แนวต้านบริเวณ 32.6/ 32.8 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 31.6 – 32.8

อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th http://www.classicgold.co.th http://www.chiabsengheng.co.th http://www.facebook....lassicGoldGroup http://www.youtube.com/ilovecgf http://www.twitter.com/ilovecgf http://classicgoldfutures.blogspot.com http://itunes.apple....d464234361?mt=8 https://plus.google....509313835/posts https://market.andro...les.classicgold

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น