วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 2 เมษายน 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 2 เมษายน 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

ขาดปัจจัยบวกหนุนราคาทองคำ

ราคาทองคำเปิดตอนเช้าตามเวลาตลาดเอเซีย วันที่ 2 เม.ย. อยู่ที่บริเวณ 1,668.70 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,662 - 1,671 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำมีแนวโน้มอ่อนตัวลงมา เมื่อภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลง และราคาน้ำมัน ปรับตัวลง ในการซื้อขายช่วงบ่ายนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับลดลง มีแนวโน้มปรับลดลงในกรอบจำกัด เนื่องจาก ได้รับปัจจัยบวกจากข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาดของจีนได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน และเป็นแรงหนุนราคาทองคำอีกทาง โดยภาพทางเทคนิค ในระยะสั้น ยังไม่มีสัญญาณบวกหรือลบอย่างชัดเจน มีโอกาสเคลื่อไหวในลักษณะ sideway จนกว่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้น โดยหากราคาสามารถผ่านแนวต้ายสำคัญที่ 1,680/1,700 แสดงถึงการปรับฐานสิ้นสุด แต่หากยังไม่สามารถยืนอยู่เหนือ 1,660/1,640 อาจพบสัญญาณ Bearish มากขึ้น ในคืนนี้ แนะนำ Trading ในกรอบ 1,640 – 1,680

รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ได้เพิ่มความสามารถทางการปล่อยกู้โดยรวมของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป(EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราว และกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกองทุนถาวร ขึ้นสู่ระดับ 8 แสนล้านยูโร จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 5 แสนล้านยูโร ทั้งนี้ ตัวเลข 8 แสนล้านยูโรนี้ได้มาจากการนำตัวเลข 7 แสนล้านยูโร มาบวกกับสินเชื่อระดับทวิภาคีที่ประเทศสมาชิกยูโรโซนปล่อยกู้ให้แก่กรีซภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือกรีซรอบแรก, เงินที่จัดสรรโดย EFSF และกองทุนแห่งที่ 3 ที่มีขนาดเล็กและควบคุมโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ESM จะเริ่มดำเนินงานในเดือนก.ค.ปีนี้ และจะมีเม็ดเงินเพียง 2 แสนล้านยูโรในปีแรกของการดำเนินงาน เนื่องจากเงินทุนของ ESM จะได้มาจากการผ่อนจ่ายเป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ การตัดสินใจของยูโรกรุ๊ป จะสามารถนำเงินทุนที่ยังไม่มีภาระผูกพันราว 2.4 แสนล้านยูโรใน EFSFมาใช้ได้ในกรณีที่มีความจำเป็น จนกว่า ESM จะมีขนาดใหญ่ขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ยูโรโซนที่ประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศตกลงที่จะรวมกองทุน ESM/EFSFเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีเงินทุนใหม่ไว้ใช้สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินราว 5 แสนล้านยูโรนับตั้งแต่กลางปี 2013 เป็นต้นไป โดยเงินดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงเงิน2 แสนล้านยูโรที่ได้รับการจัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้เพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่กรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้เสนอให้มีการปรับเพิ่มเพดานการปล่อยกู้ของกองทุนยูโรโซนขึ้นสู่ 9.4 แสนล้านยูโร อย่างไรก็ดี เยอรมนีคัดค้านการปรับเพิ่มขนาดในระดับที่สูงมาก ขณะที่ ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)แสดงความพึงพอใจต่อการตัดสินใจของยูโรกรุ๊ป โดยระบุว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะช่วยให้ไอเอ็มเอฟสามารถระดมทุนทรัพย์ได้มากยิ่งขึ้นเพื่อนำมาใช้แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน

ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. ซึ่งเพิ่มสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ยูโรโซนกำลังเผชิญกับภาวะถดถอย ขณะที่ภาวะตกต่ำลุกลามไปยังประเทศสมาชิกที่สำคัญ อาทิ ฝรั่งเศส และเยอรมนีแล้ว ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในยูโรโซนของ Markit ร่วงลงสู่ระดับ 47.7 ในเดือนมี.ค. จาก 49.0 ในเดือนก.พ.ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ และดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวลงมาตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะทำให้เป็นเรื่องยากยิ่งขึ้นที่ยูโรโซนจะฝ่าฟันกับวิกฤติหนี้ครั้งนี้ได้ เนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดจะทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลง และกระทบการใช้จ่ายของผู้บริโภคประเทศที่มีสถานะเศรษฐกิจอ่อนแอต่างประสบกับภาวะตกต่ำรุนแรงขณะที่มาตรการรัดเข็มขัดยังคงกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตของกรีซยังคงหดตัวลงอย่างมากในเดือนมี.ค.

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน บ่งชี้เศรษฐกิจกำลังเดินหน้าสู่การขยายตัวอย่างมั่นคง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 2.1 จากเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพ.ย.-ก.พ. ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 49 สู่ระดับ 50.3, 50.5 และ 51 แสดงให้เห็นว่า ความต้องการในประเทศดีดตัวขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 21.00 น. สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐเปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตเดือนมี.ค.
- 21.00 น. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.พ.

ภาพกราฟในราย 240 นาที ราคาอ่อนตัวเมื่อชนแนวต้านสำคัญ บริเวณ 1,670 และเส้น Stochastic หักหัวชี้ลง มีแนวโน้มอ่อนตัวต่อ โดยมีแนวรับที่ 1,660/ 1,645/1,628 หากหลุด 1,640 ส่งสัญญาณ Bearish มากขึ้น แนะนำ Trading ในกรอบ 1,640 – 1,680 โดยหากไม่หลุด 1,660/1,640 แนะนำ เปิด Long ไว้บริเวณ 1,660/1,640 โดยมีเป้าหมายทำกำไรบริเวน 1,670/1,680
ส่วนโลหะเงินมีแนวรับบริเวณ 32.0/ 31.2 แนวต้านบริเวณ 32.7/ 33.0 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 31.2 – 33.0

อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook....lassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfu...s.blogspot.comj
http://itunes.apple....d464234361?mt=8 https://plus.google....509313835/posts https://market.andro...les.classicgold

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น