ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เบื้องต้นของยูโรโซนในเดือน ต.ค.ลดลงมาอยู่ที่ 51.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 52.2 ในเดือน ก.ย. บ่งชี้ว่า การขยายตัวของภาคเอกชนยูโรโซนในเดือน ต.ค.ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือนที่ทำไว้เมื่อเดือน ก.ย. แต่โดยรวมแล้วยังถือว่ามีการขยายตัว แม้ว่ามีปัจจัยถ่วงจากธุรกิจในภาคเอกชนของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ต่างก็มีการเติบโตที่ช้าลง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.3 ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 51.1 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น ปรับลงแตะ 50.9 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เทียบกับ 52.2 ในเดือน ก.ย.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เบื้องต้นของภาคเอกชนเยอรมนีในเดือน ต.ค.ลดลงแตะ 52.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 53.2 ในเดือน ก.ย. บ่งชี้ถึงการขยายตัวโดยรวมของภาคเอกชนเยอรมนีที่ชะลอลง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.5 ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 51.1 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น ปรับลงแตะ 52.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เทียบกับ 53.7 ในเดือน ก.ย.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เบื้องต้นของภาคเอกชนฝรั่งเศสในเดือน ต.ค.ลดลงแตะ 50.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 50.5 ในเดือน ก.ย. บ่งชี้ถึงกิจกรรมโดยรวามของภาคเอกชนฝรั่งเศสแทบไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าแนวโน้มธุรกิจใหม่ปรับตัวลง ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการต่างก็ส่งสัญญาณอ่อนแรงลง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น ลดลงแตะ 49.4 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จาก 49.8 ในเดือน ก.ย. และดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการ อ่อนแรงมาอยู่ที่ 50.2 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เทียบกับ 51.0 ในเดือน ก.ย.
สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ของจีนสำหรับปี 2556 เป็น 7.6% จากเดิมที่คาดไว้ 7.5% และคาดว่าการขยายตัวในช่วงไตรมาส 4 ปี 2556 จะแตะ 7.5% เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของจีนในปี 2556 เป็น 2.7% จากเดิม 2.5% เมื่อเทียบรายปี และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไว้ที่ 3.1% ในช่วงไตรมาส 4
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB) ระบุว่า กลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN) จะไม่บรรลุเป้าหมายอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ภายในปี 2558 โดยความปั่นป่วนทางการเงินทั่วโลกจะส่งผลให้การรวมกลุ่มระดับภูมิภาคล่าช้าออกไปอีก หลังมีกระแสเงินทุนไหลออกจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งได้สร้างความท้าทายครั้งใหม่ต่อการบรรลุเป้ามายตามตารางเวลาของ AEC ทั้งนี้ อินโดนีเซียจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงอย่างมากและตลาดหุ้นอินโดนีเซียร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่มาเลเซียและไทยก็ได้รับผลกระทบรุนแรงเช่นกัน
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม
- 19:30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์ – อัตราการว่างงานล่าสุดที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนแตะ 7.2% บ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ดีขึ้นมาก แต่เป้าหมายของ Fed ที่ระดับ 6.5% ยังต้องรอจนกว่าตัวเลขรายสัปดาห์จะทรงตัวในระดับต่ำกว่า 3 แสนราย เสียก่อน ซึ่งการปิดทำการชั่วคราวในหน่วยงานรัฐบาลได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานบางส่วนในภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานภาครัฐ ทำให้ในสัปดาห์นี้ยังคงต้องจับตาที่ 3.5 แสนราย หากสูงกว่าระดับดังกล่าว จะเป็นผลบวกต่อราคาทองคำ แต่ถ้าเข้าใกล้ 3 แสนราย ก็จะส่งผลลบมากขึ้น
- 19:30 ดุลการค้า เดือน ส.ค. – การขาดดุลการค้ามีผลต่อค่าเงินดอลลาร์โดยตรง แต่ไม่มีผลต่อราคาทองคำ
- 20:00 ดัชนี PMI ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. โดย Markit – ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่บริษัทบริการข้อมูลทางธุรกิจ Markit รวบรวมมา โดยเป็นการสอบถามมุมมองโดยรอบต่อการประกอบการ ซึ่งผลสรุปดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจคร่าว ๆ จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ แต่เนื่องจากเป็นชุดข้อมูลที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ จึงทำให้ยังไม่มีผลกระทบต่อราคาทองคำมากนัก ทั้งนี้ ตัวเลขเหนือระดับ 50 จะส่งผลลบเล็กน้อยต่อราคาทองคำ
- 21:00 ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ย. – ยอดขายที่ดิ่งลงผิดคาดในเดือน ก.ค. สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุนไม่น้อย หลังสามารถทรงตัวเหนือระดับ 4 แสนหลังต่อเดือน ได้ตลอดครึ่งแรกของปีนี้ เมื่อพิจารณาร่วมกับราคาบ้านในเมืองใหญ่ที่เริ่มอิ่มตัว ทำให้ตัวเลขนี้น่าจับตามากขึ้นถึงสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขในระดับเกินกว่า 4 แสนหลัง จะส่งผลลบต่อทองคำ
- 21:00 ตำแหน่งงานใหม่ที่เปิดรับสมัคร (นอกภาคเกษตรกรรม) เดือน ส.ค. – ใช้ประเมินภาวะความต้องการแรงงานในตลาดเป็นการเบื้องต้น แต่เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลที่ค่อนข้างล่าช้า ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดไม่มากเท่ากับดัชนีที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานตัวอื่น ๆ เว้นแต่จะไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ระดับตัวเลขที่ต่ำกว่า 3.5 แสนงาน จะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ แต่ถ้าสูงกว่า 4 แสนงาน จะเป็นผลลบ
ทองคำ การปรับตัวขึ้นแรงเมื่อวันอังคารไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในกราฟรายวันเท่าใดนัก แต่ในกราฟราย 1 ชม. เกิดสัญญาณ divergence เตือนใน MACD และ RSI แต่คาดว่ายังไม่ชัดเจนมากพอจะส่งผลลบต่อราคาทองคำในคืนนี้ ทั้งนี้ อาจมีความผันผวนมากขึ้นในการแกว่งตัวระหว่าง 1,325-1,350 ซึ่งหากเกิดจุดสูงสุดใหม่เหนือกว่า 1,345 อาจเผชิญแรงขายทำกำไรระยะสั้นในตลาดได้ แต่ยังคงแนะนำให้ trading long ได้ต่อจนกว่าจะหลุดระดับ 1,330 สำหรับคืนนี้ ให้แนวต้านบริเวณ 1,345/1,350 ให้แนวรับบริเวณ 1,330/1,325
โลหะเงิน โลหะเงินปรับตัวขึ้นแรงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามราคาเข้าใกล้สู่แนวต้านแล้ว ราคามีโอกาสปรับตัวลดลงมาได้ แนะนำให้ trading short หากราคาทดสอบแนวต้าน สำหรับคืนนี้ ให้แนวต้านบริเวณ 22.8/23.3 และให้แนวรับบริเวณ 22.4/22
อบรมทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้นที่ 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.facebook.com/ClassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
https://plus.google.com/114919553661509313835/posts
http://web.stagram.com/n/classicgoldgroup/
http://classicgoldfutures.blogspot.com
Application search CLASSIC GOLD ทั้ง iPhone และ Android
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น