วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 7 มีนาคม 2556 ช่วงเย็น
บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 7 มีนาคม 2556 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)
ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,581 USDต่อออนซ์ พักตัวระหว่าง 1,579-1,585 USDต่อออนซ์ หลังจากที่แกว่งตัวรุนแรงเมื่อคืนนี้จากการให้ความเห็นของผู้ว่าการ
Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย ที่ยืนยันว่าควรยกเลิก QE3 ภายในปีนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลเสียจากการที่ Fed ต้องแบกรับภาระจากพันธบัตรที่รับซื้อเพื่อกดอัตราดอกเบี้ยในตลาดนั้น
สูงกว่าผลได้ที่เกิดกับเศรษฐกิจสหรัฐ ในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ผ่านกฎหมายเพิ่มงบประมาณชั่วคราวจนถึง 30 ก.ย.นี้ ทำให้รายจ่ายที่ถูกตัดลดโดยอัตโนมัตินับจาก
1 มี.ค.ที่ผ่านมา จะยังไม่มีผลต่อการดำเนินงานของรัฐบาล โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทหารและความมั่นคงของประเทศ จึงทำให้ความเสี่ยงที่สหรัฐจะถูกปรับลดอันดับ
เครดิตในปีนี้ลดลงด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหา fiscal cliff หรือ sequestration ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วง และถูกเลื่อนออกไปในอนาคตเท่านั้น
สำหรับสิ่งที่น่าสนใจในคืนนี้ ได้แก่ การประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ซึ่งคาดว่าจะคงระดับเดิมที่ 0.75% แต่นักลงทุนควรจับตาข้อคิดเห็นทางเศรษฐกิจของประธาน
ECB ที่อาจทำให้ตลาดคาดการณ์ถึงการลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญเรื่อง Bank Stress Test ของสหรัฐ ที่จะประกาศผลในช่วงเช้า
มืดวันพรุ่งนี้ ที่จะเผยถึงความแข็งแกร่งในภาคธนาคารซึ่งจะชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เลวร้ายได้หรือไม่ และตลาดจะคาดการณ์ถึงแนวโน้มการใช้
มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของ Fed จากผลดังกล่าวด้วย
นักวิเคราะห์คาดว่า ที่ประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในการประชุมวันนี้ที่ 0.75% ซึ่งในการประชุมเมื่อวันที่ 7 ก.พ.
ที่ผ่านมา ECB มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% และไม่ได้ประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายที่จะประเมิน
แนวโน้มเศรษฐกิจและรอดูโอกาสที่เหมาะสมก่อนที่จะเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรครั้งใหม่
นักวิเคาะห์คาดว่า ธนาคารกลางอังกฤษ(BOE)อาจจะมีการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันนี้ เนื่องจากธนาคารกลางต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา
โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% และคงโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE)วงเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์
อัตราว่างงานของฝรั่งเศสในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เพิ่มขึ้นแตะ 10.6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 14 ปี จาก 10.2% ในไตรมาสก่อนหน้า และหากไม่รวมอัตราว่างงาน
ในดินแดนของฝรั่งเศสในต่างประเทศ อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นแตะ 10.2% ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของจีน หลี่ ยี่หนิง กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านการเงินจะยังเป็นความท้าทายสูงสุดที่เศรษฐกิจจีนต้องเผชิญ เนื่องจากการที่จีนพึ่งพาการลงทุนมากเกินไป
และเร่งขยายเขตเมืองจะทำให้รัฐบาลท้องถิ่นต้องแบกรับภาระหนี้มากขึ้น ทั้งนี้ ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวอย่างสม่ำเสมอในปี 2556
และบรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่ 7.5-8.0% และอัตราเงินเฟ้อน่าจะควบคุมได้ที่ระดับ 3.5% หากราคาน้ำมันและอาหารยังคงมีเสถียรภาพ
ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.1% และไม่ประกาศผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ BOJ
ยังคงขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ไว้ที่วงเงิน 101 ล้านล้านเยน พร้อมกับปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจ โดยระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้น
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 20:30 ดุลการค้า เดือน ม.ค. – การขาดดุลการค้ามีผลต่อค่าเงินดอลลาร์โดยตรง แต่ไม่มีผลต่อราคาทองคำ
- 20:30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์ – ตัวเลขในระดับต่ำกว่า 4 แสน แสดงถึงภาวะที่ดีขึ้นของการจ้างงานในสหรัฐ
สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่อยู่ต่ำกว่า 8% อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานล่าสุดที่ 7.9% ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน ทำให้ต้องจับตาตัวเลขในคืนนี้ว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่
โดยหากออกมามากกว่าคาด จะเป็นผลบวกต่อราคาทองคำทันที แต่หากออกมาน้อยกว่าคาด จะเป็นผลลบต่อราคาทองคำในระยะสั้น
- 20:30 ยอดผลผลิต นอกภาคเกษตรกรรม (ตัวเลขสรุป) ไตรมาส 4/2012 – ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตที่ใช้เปรียบเทียบกับต้นทุนค่าแรงต่อหน่วย
ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต โดยการประกาศตัวเลขที่เป็นบวกมักส่งผลลบต่อราคาทองคำเล็กน้อย
ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ในคืนนี้ที่ -1.6% จะช่วยหนุนทองคำเล็กน้อย
- 20:30 ต้นทุนต่อหน่วยแรงงาน นอกภาคเกษตรกรรม (ตัวเลขสรุป) ไตรมาส 4/2012 – หนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจ
ในอนาคตควบคู่ไปกับยอดผลผลิต โดยการประกาศตัวเลขในช่วงบวกหรือลบ 2% มักไม่ส่งผลต่อราคาทองคำ ซึ่งหากคืนนี้ออกในระดับ +4.4% ตามที่คาดการณ์ไว้
อาจส่งผลบวกต่อทองคำเล็กน้อย
- 04:30 รายงานผลการทดสอบความอยู่รอดของ 19 ธนาคารพาณิชย์ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (Bank Stress Test) ครั้งแรก –
การทดสอบประจำปีที่ธนาคารกลาง(Fed)จัดขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤติซับไพรม์ เพื่อตรวจสอบสภาพคล่องและประสิทธิภาพการดำเนินกิจการของแต่ละธนาคาร โดยใช้สมมติฐานว่า
เกิดภาวะย่ำแย่ทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ โดยครั้งนี้ทดสอบในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกัน 6 ไตรมาส, อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงมาก, อัตราการว่างงานแตะ
12% และราคาหุ้นตก 52% ซึ่งคาดว่าอย่างน้อย 15 แบงค์ จะผ่านการทดสอบด้วยขนาดของเงินทุนที่แข็งแกร่ง แต่แบงค์ใหญ่อันดับ 3 อย่าง ซิตี้กรุ๊ป เป็นที่น่าจับตาอย่างมาก
เนื่องจากสอบตกในการทดสอบครั้งก่อน
ทองคำ การแกว่งตัวสร้างฐานอยู่ในกรอบ 1,567-1,586 พร้อมสัญญาณ adx ที่อยู่ในระดับต่ำ ชี้ว่าราคากำลังใกล้จะเลือกแนวโน้ม โดยหากมีข่าวสำคัญในช่วงนี้
จะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำได้มาก จึงแนะนำให้ รอซื้อเมื่ออ่อนตัว หรือ ซื้อตามเมื่อราคาทะลุ 1,586 โดยให้แนวต้านบริเวณ 1,586/1,602 และให้แนวรับบริเวณ
1567/1,555
โลหะเงิน ราคายังคงเคลื่อนไหวในกรอบ sideway down โดยพยายามทดสอบบริเวณ 29.06-29.18 ซึ่งหากผ่านไปได้ จะเป็นสัญญาณแรกของการเป็น
ขาขึ้นรูปแบบ double bottom โดยมี neckline เส้นสำคัญที่ 29.45 จึงแนะนำให้รอซื้อตามเมื่อทะลุแนวต้าน 29.15 / 29.45 สำหรับคืนนี้ ให้แนวต้านบริเวณ
29.15 / 29.45 / 29.65 และให้แนวรับบริเวณ 28.35 / 27.75
อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 11-12,16
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook.com/ClassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
https://itunes.apple.com/th/app/classic-gold/id464234361?mt=8
https://plus.google.com/114919553661509313835/posts
https://market.android.com/details?id=com.codemobiles.classicgold
http://web.stagram.com/n/ilovecgf/
http://www.classicgoldgroup.tumblr.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น