บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)
FED/ECB เป็นปัจจัยสำคัญชี้นำราคา
ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,612 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,610-1,618 USDต่อออนซ์ โดยราคาแกว่งตัวแคบ ๆ หลังร่วงลงมาในช่วงเมื่อคืนนี้ แต่ก็ยังอยู่ในกรอบการพักตัวเดิมเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน เพื่อรอผลการประชุมนโยบายการเงินของ FED กับ ECB ในคืนวันนี้และเย็นวันพรุ่งนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ตลาดยังคงเชื่อว่า อาจมีการส่งสัญาณเกี่ยวกับแนวนโยบายเพิ่มเติมผ่านความคิดเห็นในถ้อยแถลง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงทันที อย่างไรก็ตาม คืนนี้ก่อนที่ FOMC และเบอร์นันเก้จะออกแถลงการณ์ นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวที่น่าจะทำให้ราคาทองคำผันผวนได้มาก และวันพรุ่งนี้ตลาดฟิวเจอร์สไทยปิดทำการเนื่องในวันอาสาฬหบูชา จึงแนะนำให้ชะลอการเปิดสถานะใหม่ หรือ ถ้าควรปิดสถานะทำกำไรไปก่อน ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐ, เงินยูโร และเงินบาท ให้จับตาข่าว FED และ ECB ที่อาจทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญได้ และราคาน้ำมันเริ่มสร้างกรอบรูปสามเหลี่ยม หลังจากข่าวนิวเคลียร์อิหร่านและความตึงเครียดในตะวันออกกลางยังไม่มีอะไรคืบหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงต่อเนื่องแตะ 44.0 ในเดือน ก.ค. จาก 45.1 ในเดือน มิ.ย. โดยมีการปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงเกือบ 1 ปี และทำสถิติต่ำสุดนับแต่กลางปี 2552 หลังจากที่การผลิตและคำสั่งซื้อตกต่ำลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของเยอรมนีร่วงลงแตะ 43.0 ในเดือน ก.ค. จาก 45.0 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินรุนแรงถึงขีดสุดในช่วงกลางปี 2552 และต่ำกว่าประมาณการเบื้องต้นที่ 43.3 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและวิกฤตยูโรโซนที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของฝรั่งเศสร่วงลงแตะ 43.4 ในเดือน ก.ค. จาก 45.2 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่คำสั่งซื้อล็อตใหม่ลดลงต่อเนื่องมากว่า 1 ปี จากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแรง ท่ามกลางนตลาดแรงงานที่ย่ำแย่
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอังกฤษร่วงลงแตะ 45.4 ในเดือน ก.ค. จาก 48.4 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.2552
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของสเปนร่วงลงแตะ 42.3 ในเดือน ก.ค. จาก 41.1 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องในช่วงกว่า 1 ปี ซึ่งแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากการผลิตและการจ้างงานอยู่ในช่วงซบเซา
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอิตาลีร่วงลงแตะ 44.3 ในเดือน ก.ค. จาก 44.6 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี จากคำสั่งซื้อและการจ้างงานที่อ่อนแอ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของกรีซขยับขึ้นแตะ 41.9 ในเดือน ก.ค. จาก 40.1 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องมาเกือบ 3 ปี หลังจากประเทศเผชิญวิกฤตหนี้สาธารณะและวิกฤตการเมือง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอินเดียเดือน ก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 55.0 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลให้ยอดการส่งออกของอินเดียร่วงลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว โดยการขยายตัวที่ช้าลงของภาคการผลิตสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจอินเดีย โดยในรอบปีที่สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศอยู่ในระดับสูง ภาวะชะงักงันของมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อ
สำนักบริหารการปริวรรตเงินตราของรัฐบาลจีน(SAFE) เผยว่า ไม่พบสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระแสเงินไหลออกครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งปีแรก โดยมีเพียงเงินไหลออกในระดับหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ สินทรัพย์ในรูปของเงินตราต่างประเทศของจีนกำลังไหลจากธนาคารกลางเข้าสู่สถาบันการเงินและประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนเก็บเงินตราต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม จีนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็น 5.97 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 จากระดับ 2.35 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก รวมช่วงครึ่งปีแรก จีนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 8.32 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 5% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว แต่ขณะเดียวกัน จีนมียอดขาดดุลบัญชีทุนและการเงิน 7.14 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 และมีกระแสเงินสุทธิจากการลงทุนโดยตรงอยู่ที่ 3.86 หมื่นล้านดอลลาร์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 19:15 น. [US] ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ รายเดือน
- 20:00 น. [US] ดัชนีมุมมองต่อธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ ภาคการผลิต รายเดือน
- 21:00 น. [US] ดัชนีมุมมองต่อธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ ภาคการผลิต รายเดือน
- 21:00 น. [US] ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง รายเดือน
- 21:30 น. [US] สต็อคน้ำมันดิบ รายสัปดาห์
- 01:15 น. [US] FOMC ประกาศอัตราดอกเบี้ยและแถลงความเห็น
ทองคำ ราคาร่วงลงมาถึงแนวรับ 1,610 จากสัญญาณ divergence ขนาดเล็ก แต่ภาพรวมยังคงอยู่ภายใต้สัญญาณ divergence ขนาดที่ใหญ่กว่า โดยตลาดปรับลงสู่แนวรับก่อน FED จะออกแถลงการณ์ จึงยังมีโอกาสที่ราคาจะขึ้นไปแกว่งตัวทดสอบระดับ 1,630-1,640 ได้อยู่ ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นช่วงแนวต้านที่แข็งแกร่งที่สามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาในระยะกลาง ทำให้อาจมีแรงเทขายในกรณีที่ราคาสามารถขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ในระยะสั้นได้ แต่ถ้าหากไม่มีข่าวดีจากทั้ง FED และ ECB ราคาก็ยังคงอยู่ในลักษณะอ่อนตัวจากสัญญาณทางเทคนิคที่แสดงรูปแบบ double top ซึ่งอาจทำให้ราคาร่วงกลับลงมาทดสอบจุดเดิมที่บริเวณ 1,560 ได้ สำหรับคืนนี้ ให้แนวรับบริเวณ 1,605/1,597 ส่วนแนวต้านให้ที่บริเวณ 1,617/1,625
โลหะเงิน มีแนวรับบริเวณ 27.60 / 27.30 แนวต้านบริเวณ 28.35 / 28.55 แนะนำนักลงทุน Trading ในกรอบ 27.30–28.55
อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook....lassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
http://itunes.apple....d464234361?mt=8
https://plus.google....509313835/posts
https://market.andro...les.classicgold
http://web.stagram.com/n/ilovecgf/
FED/ECB เป็นปัจจัยสำคัญชี้นำราคา
ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,612 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,610-1,618 USDต่อออนซ์ โดยราคาแกว่งตัวแคบ ๆ หลังร่วงลงมาในช่วงเมื่อคืนนี้ แต่ก็ยังอยู่ในกรอบการพักตัวเดิมเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน เพื่อรอผลการประชุมนโยบายการเงินของ FED กับ ECB ในคืนวันนี้และเย็นวันพรุ่งนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ตลาดยังคงเชื่อว่า อาจมีการส่งสัญาณเกี่ยวกับแนวนโยบายเพิ่มเติมผ่านความคิดเห็นในถ้อยแถลง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงทันที อย่างไรก็ตาม คืนนี้ก่อนที่ FOMC และเบอร์นันเก้จะออกแถลงการณ์ นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวที่น่าจะทำให้ราคาทองคำผันผวนได้มาก และวันพรุ่งนี้ตลาดฟิวเจอร์สไทยปิดทำการเนื่องในวันอาสาฬหบูชา จึงแนะนำให้ชะลอการเปิดสถานะใหม่ หรือ ถ้าควรปิดสถานะทำกำไรไปก่อน ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐ, เงินยูโร และเงินบาท ให้จับตาข่าว FED และ ECB ที่อาจทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญได้ และราคาน้ำมันเริ่มสร้างกรอบรูปสามเหลี่ยม หลังจากข่าวนิวเคลียร์อิหร่านและความตึงเครียดในตะวันออกกลางยังไม่มีอะไรคืบหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงต่อเนื่องแตะ 44.0 ในเดือน ก.ค. จาก 45.1 ในเดือน มิ.ย. โดยมีการปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงเกือบ 1 ปี และทำสถิติต่ำสุดนับแต่กลางปี 2552 หลังจากที่การผลิตและคำสั่งซื้อตกต่ำลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของเยอรมนีร่วงลงแตะ 43.0 ในเดือน ก.ค. จาก 45.0 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินรุนแรงถึงขีดสุดในช่วงกลางปี 2552 และต่ำกว่าประมาณการเบื้องต้นที่ 43.3 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและวิกฤตยูโรโซนที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของฝรั่งเศสร่วงลงแตะ 43.4 ในเดือน ก.ค. จาก 45.2 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่คำสั่งซื้อล็อตใหม่ลดลงต่อเนื่องมากว่า 1 ปี จากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแรง ท่ามกลางนตลาดแรงงานที่ย่ำแย่
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอังกฤษร่วงลงแตะ 45.4 ในเดือน ก.ค. จาก 48.4 ในเดือน มิ.ย. โดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.2552
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของสเปนร่วงลงแตะ 42.3 ในเดือน ก.ค. จาก 41.1 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องในช่วงกว่า 1 ปี ซึ่งแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากการผลิตและการจ้างงานอยู่ในช่วงซบเซา
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอิตาลีร่วงลงแตะ 44.3 ในเดือน ก.ค. จาก 44.6 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี จากคำสั่งซื้อและการจ้างงานที่อ่อนแอ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของกรีซขยับขึ้นแตะ 41.9 ในเดือน ก.ค. จาก 40.1 ในเดือน มิ.ย. โดยเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องมาเกือบ 3 ปี หลังจากประเทศเผชิญวิกฤตหนี้สาธารณะและวิกฤตการเมือง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของอินเดียเดือน ก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 55.0 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลให้ยอดการส่งออกของอินเดียร่วงลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว โดยการขยายตัวที่ช้าลงของภาคการผลิตสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจอินเดีย โดยในรอบปีที่สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศอยู่ในระดับสูง ภาวะชะงักงันของมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อ
สำนักบริหารการปริวรรตเงินตราของรัฐบาลจีน(SAFE) เผยว่า ไม่พบสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระแสเงินไหลออกครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งปีแรก โดยมีเพียงเงินไหลออกในระดับหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ สินทรัพย์ในรูปของเงินตราต่างประเทศของจีนกำลังไหลจากธนาคารกลางเข้าสู่สถาบันการเงินและประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนเก็บเงินตราต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม จีนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็น 5.97 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 จากระดับ 2.35 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก รวมช่วงครึ่งปีแรก จีนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 8.32 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 5% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว แต่ขณะเดียวกัน จีนมียอดขาดดุลบัญชีทุนและการเงิน 7.14 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 และมีกระแสเงินสุทธิจากการลงทุนโดยตรงอยู่ที่ 3.86 หมื่นล้านดอลลาร์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 19:15 น. [US] ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ รายเดือน
- 20:00 น. [US] ดัชนีมุมมองต่อธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ ภาคการผลิต รายเดือน
- 21:00 น. [US] ดัชนีมุมมองต่อธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ ภาคการผลิต รายเดือน
- 21:00 น. [US] ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง รายเดือน
- 21:30 น. [US] สต็อคน้ำมันดิบ รายสัปดาห์
- 01:15 น. [US] FOMC ประกาศอัตราดอกเบี้ยและแถลงความเห็น
ทองคำ ราคาร่วงลงมาถึงแนวรับ 1,610 จากสัญญาณ divergence ขนาดเล็ก แต่ภาพรวมยังคงอยู่ภายใต้สัญญาณ divergence ขนาดที่ใหญ่กว่า โดยตลาดปรับลงสู่แนวรับก่อน FED จะออกแถลงการณ์ จึงยังมีโอกาสที่ราคาจะขึ้นไปแกว่งตัวทดสอบระดับ 1,630-1,640 ได้อยู่ ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นช่วงแนวต้านที่แข็งแกร่งที่สามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาในระยะกลาง ทำให้อาจมีแรงเทขายในกรณีที่ราคาสามารถขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ในระยะสั้นได้ แต่ถ้าหากไม่มีข่าวดีจากทั้ง FED และ ECB ราคาก็ยังคงอยู่ในลักษณะอ่อนตัวจากสัญญาณทางเทคนิคที่แสดงรูปแบบ double top ซึ่งอาจทำให้ราคาร่วงกลับลงมาทดสอบจุดเดิมที่บริเวณ 1,560 ได้ สำหรับคืนนี้ ให้แนวรับบริเวณ 1,605/1,597 ส่วนแนวต้านให้ที่บริเวณ 1,617/1,625
โลหะเงิน มีแนวรับบริเวณ 27.60 / 27.30 แนวต้านบริเวณ 28.35 / 28.55 แนะนำนักลงทุน Trading ในกรอบ 27.30–28.55
อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook....lassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
http://itunes.apple....d464234361?mt=8
https://plus.google....509313835/posts
https://market.andro...les.classicgold
http://web.stagram.com/n/ilovecgf/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น