วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทวิเคราะห์แนวโน้มฟิวเจอร์ส วันที่ 1 สิงหาคม 2556 (ช่วงเย็น)

บทวิเคราะห์แนวโน้มฟิวเจอร์ส วันที่ 1 สิงหาคม 2556  โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น) 

QE ช่วยทองยืน 1,300

ราคาทองคำเปิดตลาดเอเชียที่ 1,328 USDต่อออนซ์  สวิงผันผวนระหว่าง 1,316–1,330 USDต่อออนซ์  โดยในช่วงเมื่อคืนที่ผ่านมา ราคาทองคำได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการประกาศตัวเลขของสหรัฐหลายดัชนีที่ออกมาเป็นบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งอาจมีผลให้ Fed พิจารณาปรับลดมาตรการ QE เร็วขึ้น แม้ตลาดได้คาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่า คณะกรรมการ FOMC จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไว้ต่อไปอีกพักใหญ่ ๆ และยังไม่ถึงเวลาที่จะมีการลดวงเงิน QE ดังที่ เบน เบอร์นันเก้ ได้แถลงหลายครั้งตามข่าวก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม แต่แรงขายที่ต่อเนื่องในภาวะตลาดซบเซาได้กดดันราคาทองคำให้ร่วงลงอย่างหนัก ก่อนดีดกลับมาระดับเดิมเมื่อทราบข่าวการแถลงของประธาน Fed แล้วว่าเป็นไปตามคาด ซึ่งภาพรวมของราคายังคงมีการเคลื่อนไหวแบบแกว่งตัวออกด้านข้างด้วยปริมาณการซื้อขายในตลาดที่ถดถอยลง โดยระยะสั้นมีแนวโน้มที่อาจจะปรับตัวขึ้นได้ต่อไปหลังการพักตัวนี้จบ แต่ระยะกลางยังคงเป็นเพียงการรีบาวน์ในแนวโน้มขาลงเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มสำคัญของรอบอยู่ที่บริเวณ 1,400 USDต่อออนซ์ สำหรับช่วงเย็นและในคืนนี้ นอกเหนือจากตัวเลขของสหรัฐแล้ว ควรติดตามการแถลงผลการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยและนโยบายของ ECB ด้วย เนื่องจากแม้ล่าสุด กรีซเพิ่งได้รับเงินกู้งวดใหม่ไป แต่สถานการณ์โดยรวมยังไม่เอื้อต่อการฟื้นตัว จึงทำให้ยังคงมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนได้อยู่ รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม PIIGS ก็เช่นเดียวกัน ที่ยังคงต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากทรอยก้า

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือน ก.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 50.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี จาก 48.8 ในเดือน มิ.ย. นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.ค.2554 ที่ดัชนียืนเหนือระดับ 50.0 ซึ่งการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ขยายตัวสูงสุดนับแต่กลางปี 2554 ขณะที่ธุรกิจการส่งออกและตลาดในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนแรงกดดันด้านราคายังปรับตัวลดลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและราคาผลผลิตยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของเยอรมันในเดือน ก.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 50.7 จาก 48.6 ในเดือน มิ.ย. โดยดัชนีแตะระดับสูงสุดในรอบ 1  ปีครึ่ง และส่งสัญญาณว่าภาคการผลิตมีแนวโน้มขาขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ ผลผลิตในภาคการผลิตของเยอรมนีพุ่งขึ้นแข็งแกร่งที่สุดนับแต่เดือนก.พ.2555 ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ขยับขึ้นเล็กน้อย แม้ยังมีปัจจัยถ่วงจากอุปสงค์ด้านการส่งออก ส่วนต้นทุนวัตถุดิบในเดือนก.ค.ลดลงมากที่สุดในรอบ 4 ปี

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของฝรั่งเศสในเดือน ก.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 49.7 จาก 48.4 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของฝรั่งเศสมีการหดตัวเพียงเล็กน้อย โดยผลผลิตภาคการผลิตกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมา 16 เดือน ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานต่างก็ปรับตัวลงในอัตราที่ช้าลง ส่วนการส่งออกในเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้นครั้งแรกนับแต่เดือน มี.ค.2555

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของสเปนในเดือน ก.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับ 49.8 จาก 50.0 ในเดือน มิ.ย. แม้คำสั่งซื้อใหม่มีการขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนผลผลิตของภาคการผลิตลดลงเล็กน้อย ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบก็ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลจากราคาโลหะที่ลดลง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของอิตาลีในเดือน ก.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 50.4 จาก 49.1 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือน พ.ค.2554 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นการส่งสัญญาณว่าภาคการผลิตของอิตาลีโดยรวมมีการปรับตัวที่ดีขึ้นในช่วงเริ่มต้นไตรมาส 3 ปีนี้


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือน ก.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 54.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 28 เดือน จากระดับ 52.9 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งบ่งชี้ถึงการปรับตัวขาขึ้นต่อเนื่องของภาคการผลิตในช่วงต้นไตรมาส 3 ขณะที่แรงกดดันด้านราคาไม่รุนแรงนัก และอุปสงค์ในต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้ตลาดภายในประเทศยังไม่คึกคักมากนัก

ญี่ปุ่นเผยยอดขายรถใหม่ในไม่รวมรถขนาดเล็ก ปรับตัวลดลง 13.5% จากปีก่อน สู่ระดับ 284,314 คันในเดือน ก.ค. ยอดขายรถยนต์โดยสารร่วงลง 15.5% แตะระดับ 249,899 คัน ขณะที่ยอดขายรถถบรรทุกขยับขึ้น 4.2% แตะระดับ 33,516 และยอดขายรถพัสพุ่งขึ้น 14.2% แตะระดับ 899 คัน

เทเมเส็กแต่งตั้งอดีตผู้บริหารธนาคารโลก โรเบิร์ต โซลลิค ขึ้นดำรงตำแหน่งบอร์ดบริหาร หวังช่วยลุยการเปิดตลาดในสหรัฐ ยุโรป และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม 
- 19:30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์  –  ตัวเลขในระดับต่ำกว่า 4 แสนราย แสดงถึงภาวะที่ดีขึ้นของการจ้างงานในสหรัฐ สอดคล้องกับอัตราการว่างงานล่าสุดที่ระดับ 7.6% โดยเป้าหมาย 6.5% ที่ Fed คาดหวังไว้ ยังคงต้องให้ตัวเลขรายสัปดาห์ทรงตัวต่ำกว่าระดับ 3 แสนราย เสียก่อน  หากในคืนนี้ประกาศตัวเลขออกมาต่ำกว่า 3.5 แสนราย เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน จะส่งผลลบต่อราคาทองคำ และหากใกล้ระดับ 3 แสน จะส่งผลลบมากขึ้น

- 20:00 ดัชนี PMI ภาคการผลิต (ตัวเลขสรุป) เดือน ก.ค. โดย Markit  –  ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่บริษัทบริการข้อมูลทางธุรกิจ Markit รวบรวมมา โดยเป็นการสอบถามมุมมองโดยรอบต่อการประกอบการ ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจคร่าว ๆ จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ แต่เนื่องจากการประกาศตัวเลขสรุปมักไม่ต่างจากตัวเลขเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ

- 21:00 ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ก.ค. โดย ISM  –  เป็นผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่สถาบันจัดการอุปทานรวบรวมมา โดยเป็นการสอบถามมุมมองโดยรอบต่อการประกอบการ ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ และเนื่องจากเป็นตัวเลขที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง จึงทำให้มีผลกระทบต่อราคาทองคำค่อนข้างมาก โดยตัวเลขระดับ 45-55 ถือว่าปกติ จะส่งผลต่อราคาทองคำเล็กน้อย และค่าที่สูงเกิน 55 จะส่งผลลบต่อราคาทองคำได้มาก ส่วนค่าที่ต่ำกว่า 50 จะให้ผลบวกต่อราคาทองคำ

- 21:00 รายจ่ายภาคการก่อสร้าง เดือน มิ.ย.  –  ตัวเลขประกอบการพิจารณาการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ซึ่งมักใช้ร่วมกับดัชนีราคาที่อยู่อาศัย, ยอดขายบ้านทั้งมือหนึ่งและมือสอง, ยอดคำขอจดจำนอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ไม่ส่งผลต่อราคาทองคำ

การวิเคราะห์ทางเทคนิค
++ ทองคำ   กราฟราย 1 ชม.แสดงการแกว่งพักตัวแบบ sideway down ในกรอบ channel ขาขึ้น  ทำให้คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นการปรับฐาน จะมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวขึ้นได้ต่อไป  โดยบริเวณ 1,300 ถือเป็นจุดรับที่แข็งแรงในระยะสั้น และการผ่าน 1,330–1,335 จะเป็นสัญญาณแรกของการปรับขึ้น  อย่างไรก็ตาม ในคืนนี้คาดว่าราคาทองคำจะผันผวนในกรอบที่ไม่กว้างมากนัก  ให้แนวต้านบริเวณ 1,335/1,340  ให้แนวรับบริเวณ 1,315/1,305  แนะนำให้สะสม long เมื่ออ่อนตัว

++ โลหะเงิน   ราคามีแรงเทขายในช่วงเปิดตลาดสหรัฐ แต่มีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงท้ายตลาด ทำให้ราคาโลหะเงินยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ sideway down เช่นเดิม  ให้แนวต้านบริเวณ 20/20.2  ให้แนวรับบริเวณ 19.6/19.4  แนะนำให้ trading ในกรอบ


อบรมทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้นที่ 12 
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.facebook.com/ClassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
https://plus.google.com/114919553661509313835/posts
http://web.stagram.com/n/classicgoldgroup/
http://classicgoldfutures.blogspot.com
Application search CLASSIC GOLD ทั้ง iPhone และ Android 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น