วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเย็น)

แรงกดดันจากการอ่อนค่าของค่าเงินยูโร

ราคาทองคำเปิดตอนเช้าตามเวลาตลาดเอเซีย วันที่ 1 มิ.ย. อยู่ที่บริเวณ 1,554 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,553 - 1,560 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำปรับลดลงมา จากการถูกสกัดแรงบวกจากความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจของกรีซและสเปนซึ่งทำให้ภาวะตลาดขนาดใหญ่หลายแห่งในเดือนพ.ค.ทำสถิติทรุดตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบรายเดือนนับตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว รวมถึงตัวเลขภาคการผลิตของประเทศในแถบยูโรโซนที่ประกาศออกมาในวันนี้ แสดงถึงการหดตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง และกดดันให้ราคาทองคำปรับลดลงต่อ ขณะที่นักลงทุนจับตาการรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ และผลการประชุม G30 ที่จะมีขึ้นในคืนวันนี้ สำหรับภาพทางเทคนิค ยังคงส่งสัญญาณลบ ซึ่งอาจกดดันให้ราคาทองคำกลับมาทดสอบ Low เดิมที่ 1,530/1,520 อีกครั้ง

ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนพ.ค. ขณะที่วิกฤติหนี้กระทบความเชื่อมั่น และยอดสั่งซื้อใหม่ยังคงลดลง ภาวะตกต่ำที่เริ่มขึ้นในประเทศที่มีสถานะอ่อนแอของยูโรโซนกำลังเริ่มที่จะลุกลามเข้าสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด อาทิ เยอรมนีและฝรั่งเศสแล้วซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตจะยังคงถ่วงเศรษฐกิจแล้ว หลังจากที่มีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะถดถอยครั้งล่าสุด ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิตในยูโรโซนร่วงลงสู่ระดับ 45.1 ในเดือนพ.ค. จาก 45.9 ในเดือนเม.ย.ซึ่งสูงกว่าข้อมูลเบื้องต้นเล็กน้อย แต่เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2009 ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับแบ่งแยกการขยายตัวและการหดตัวเป็นเดือนที่ 10 แล้ว และดัชนีผลผลิตร่วงลงสู่ระดับ 44.6 จาก 46.1 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2009

ภาคการผลิตของเยอรมนีหดตัวลงในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนพ.ค. แต่ก็ไม่รุนแรงเท่าที่คาดไว้ในเบื้องต้น ขณะที่อุปสงค์ที่ชะลอตัวลงจากยูโรโซนและในต่างประเทศเป็นปัจจัยท้าทายความสามารถของเยอรมนีในการรับมือกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิตลดลงสู่ 45.2 ในเดือนพ.ค. จาก 46.2 ในเดือนเม.ย. แต่ก็สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 45.0 ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าภาคการผลิตชะลอตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2009

ภาคการผลิตของฝรั่งเศสหดตัวลงในอัตราสูงสุดในรอบ 3 ปีในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดสั่งซื้อใหม่ดิ่งลง ซึ่งเพิ่มความท้าทายให้แก่รัฐบาลใหม่พรรคสังคมนิยมที่คาดหวังว่าจะเข้าฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ Markit/CDAF ร่วงลงสู่ระดับ 44.7 ในเดือนพ.ค. จาก 46.9 ในเดือนเม.ย. ซึ่งดีกว่าที่คาดไว้ที่ 44.4 ดัชนี PMI ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัวลง และดัชนี PMI ภาคการผลิตก็ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 9 ในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา โรงงานต่างๆได้รับผลกระทบในเดือนที่แล้ว นับตั้งแต่การผลิตที่ลดลงและการซื้อสต็อกที่น้อยลง รวมถึงยอดสั่งซื้อที่ชะลอตัวลง และการลดการจ้างงานมากขึ้น


อุปสงค์ที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศทำให้ภาคการผลิตของสเปนทรุดตัวลงอีกในเดือนพ.ค. โดยการผลิตหดตัวลงในอัตราสูงสุดในรอบ3 ปี ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอีกจากที่อยู่ในระดับสูงสุดของยุโรปอยู่แล้ว ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของมาร์กิต อยู่ที่ระดับ42.0 ในเดือนพ.ค. ลดลงจาก 43.5 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 ซึ่งยุโรปเริ่มที่จะฟื้นตัวจากวิกฤติการเงินระยะแรก ดัชนี PMI ต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว ดัชนี PMI ที่ลดลงอย่างมากในเดือนพ.ค.เกิดขึ้นในขณะที่สเปนกำลังพยายามสร้างความเชื่อมั่นในตลาดโลกว่าสามารถจัดการกับปัญหาของภาคธนาคารเองได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็จะควบคุมยอดขาดดุลที่เพิ่มขึ้นได้

ผู้ว่าการธนาคารกลางอิตาลี กล่าวว่า จะไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่ยุโรปจะหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ก็มีความเป็นไปได้หากยุโรปพยายามรวมตัวกันทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การตัดสินใจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ผิดพลาด ทำให้สหภาพยุโรปเกิดความเสี่ยงและนักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการปรับปรุงโดยการเพิ่มความร่วมมือกันในสหภาพ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- 19.30 น. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค
- 19.30 น. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลรายได้และการบริโภคส่วนบุคคลเดือนเม.ย.
- 21.00 น. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย.
- 21.00 น. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค.
- 03.00 น. (2 มิ.ย.) ออโต้ดาต้าเปิดเผยยอดขายรถในสหรัฐประจำเดือนพ.ค.
การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์หน้า (4-8 มิ.ย.) มีดังนี้: วันจันทร์ ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนเม.ย. ดัชนีการจ้างงานเดือนพ.ค. วันอังคาร ดัชนีภาคบริการเดือนพ.ค. วันพุธ ตัวเลขประมาณการครั้งที่สองสำหรับประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 1/2012 เฟด รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book ตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ วันศุกร์ ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย. ข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนเม.ย.

ภาพกราฟทางเทคนิคในรายวันมีแนวโน้มอ่อนตัวลงมา บริเวณแนวรับ 1,540/ 1,530 โดยคาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,570/1,580 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 1,530 – 1,580 ส่วนภาพทางเทคนิคในระยะสัปดาห์ มี pattern เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งถ้าหากหลุดแนวรับบริเวณ 1,530/1,500 อาจปรับตัวลดลงต่อได้แรงบริเวณแนวรับ 1,450/1,400

ส่วนโลหะเงินมีแนวรับบริเวณ 27.4 / 27.0 แนวต้านบริเวณ 28.2/ 29.3 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 27.0 – 29.3

อบรมทุกวันอังคารและพฤหัส ที่ออฟฟิศอาคารจตุรัสจามจุรี ชั้น 12
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เบอร์โทร 02 618 0808,
http://www.classicgoldfutures.co.th
http://www.classicgold.co.th
http://www.chiabsengheng.co.th
http://www.facebook....lassicGoldGroup
http://www.youtube.com/ilovecgf
http://www.twitter.com/ilovecgf
http://classicgoldfutures.blogspot.com
http://itunes.apple....d464234361?mt=8
https://plus.google....509313835/posts
https://market.andro...les.classicgold 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น